5 ความจริงเบื้องหลังที่คุณอาจยังไม่รู้จาก DISNEY'S THE LION KING เดอะ ไลอ้อน คิง
โดย Oh My Disney
เตรียมความพร้อมกับเรื่องราวในตำนาน สู่ประสบการณ์ที่ต้องดูในโรงภาพยนตร์เท่านั้น
คุณพร้อม #ต้อนรับเจ้าป่า กันแล้วหรือยัง? Disney's The Lion King เดอะ ไลอ้อน คิง เข้าฉายอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ในประเทศไทย ภาพยนตร์ที่พร้อมพาทุกคนหวนสู่ความทรงจำสุดแสนประทับใจ ทั้งเรื่องราวของบทเพลงที่ติดหูใครหลาย ๆ คนมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ครั้งนี้เราได้เหล่านักแสดงระดับแนวหน้ามาร่วมงานในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย อย่าง โดนัลด์ โกลเวอร์ เป็นซิมบ้า, บียอนเซ่ โนลส์-คาร์เตอร์ เป็น นาล่า และ ชิเวเทล เอจิโอฟอร์ เป็น สการ์ แต่ทั้งหมดนี้อาจจะยังไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดที่ทำให้ Disney's The Lion King เป็นอภิมหาภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ประจำปีนี้ที่ทุกคนควรต้องดู หากแต่ว่าเป็นเรื่องราวของงานเบื้องหลังต่างหาก ที่เนรมิตแอนิเมชันสุดคลาสสิคสู่งานวิชวลเอฟเฟ็กต์เสมือนจริงได้อย่างไม่น่าเชื่อ และนี่คือ 5 ความจริงของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่คุณควรรู้
#1: ทุกสิ่งที่คุณเห็นบนหน้าจอถูกสร้างมาจากคอมพิวเตอร์
ภาพยนตร์แอ็คชั่นผจญภัย Disney’s The Lion King อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรแปลกใหม่จากแอนิเมชันในฉบับดั้งเดิม แต่ความน่าสนใจกลับอยู่ที่เทคนิคต่าง ๆ ของงานสร้างภาพยนตร์ด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เนรมิตให้สิ่งมีชีวิตในภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาสมจริงอย่างเหลือเชื่อ ทีมงานถ่ายทำสามารถ“เข้าไปสู่” สภาพแวดล้อมจริง ๆ ของ The Lion King และยืนอยู่ข้าง ๆ สิงโตที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ แทนที่จะทำทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าเราอยากจะจัดทริปท่องเที่ยวไปยังดินแดนเสมือนจริงของแดนทระนง
#2: ทีมงานศึกษาข้อมูลสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้โดยใช้ทีมงานจากสวนสนุก ดิสนียส์ แอนิมอล คิงดอม,ออร์แลนโด, ฟลอริด้า
ที่ ดิสนีย์ แอนิมอล คิงดอม ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มีโอกาสไปศึกษาและเรียนรู้การใช้ชีวิตจริง ๆ ของบรรดาสัตว์ที่เป็นตัวละครหลักจากภาพยนตร์ เช่น สิงโต ไฮยีน่า หมูป่า ในสภาพแวดล้อมจริง ๆ อย่างใกล้ชิด และมีการบันทึกเสียงของฝูงสิงโตจากที่นั่นสำหรับใช้ในภาพยตร์ นอกจากนั้นทีมบันทึกเสียงได้เดินทางไปยังสวนสัตว์ มักเดบูร์ก (Magdeburg zoo) ณ ประเทศเยอรมัน เพื่อทำการบันทึกเสียงลูกสิงโตเพื่อใช้เป็นเสียงคำรามของซิมบ้าในฉากฝูงวิลเดอบีสต์อีกด้วย จะเห็นได้ว่าทีมงานทุกคนทุ่มเทและใช้ความพยายายามเป็นอย่างมากเพื่อให้เสียงคำรามของเจ้าป่าออกมาสมจริงมากที่สุด
#3: ทีมงานเดินทางไปยังแอฟริกา เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์
คงไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ให้ข้อมูลของแอฟริกาได้แม่นยำมากกว่าการเดินทางไปเยือนแอฟริกาด้วยตัวเอง สำหรับแดนทระนงนั้น ทีมงานได้พิจารณาจากหลายสถานที่ในประเทศเคนยา สุดท้ายก็มาลงเอยที่ Chyulu Hills เทือกเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเคนยา ภาพของก้อนเมฆอันสวยงามและทุ่งดอกไม้ที่เบ่งบานไปพร้อมกับการเติบโตของ ซิมบ้า ทีโมน และ พุมบ้า นั้น ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเทือกเขาในเคนยาเช่นกัน ทีมงานได้ทำการบันทึกภาพมากถึง 240,000 ภาพ ภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ระหว่างทริปของพวกเขาในทวีปอันแสนงดงามแห่งนี้
#4: ลืมวิธีการทำงานของเหล่านักแสดงในแบบเดิม ๆ ไปได้เลย
แทนที่จะให้นักแสดงยืนอยู่ข้างหลังไมโครโฟนแล้วทำการบันทึกเสียงนั้น ทีมงานได้ใช้โรงละครแบบแบล็คบอกซ์ (black box theatre) สำหรับการบันทึกเสียงโดยเฉพาะ นั่นหมายความว่าเหล่านักแสดงสามารถมีอิสระในการเคลื่อนที่และแสดงความรู้สึกกับตัวละครอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำไปสู่การสื่อสารทางด้านอารมณ์ที่แท้จริงของมนุษย์ โดยเฉพาะการแสดงออกทางอารมณ์ของ ทีโมน และ พุมบ้า (นำแสดงโดย บิลลี่ ไอช์เนอร์ และ เซธ โรเกน)
#5: นักแอนิเมเตอร์มากถึง 130 คน ถูกใช้สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะ
นอกจากเรื่องของงานภาพและการบันทึกเสียงแล้ว เรามาพูดถึงขั้นตอนการทำแอนิเมชันกันบ้าง ทีมแอนิเมชันใช้เวลามากกว่า 9 เดือน เพื่อบรรจงสร้างสรรค์แต่ละตัวละคร เรียกว่าพิถีพิถันไปยันรายละเอียดของขนแต่ละเส้น และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหน้าท้องและลำคอของบรรดาสัตว์แต่ละตัวเวลาเปล่งเสียงออกมาในแต่ละคำ ทีม VFX ได้สร้างตัวละครให้ออกมาราวกับว่ามีชีวิตจริง ๆ ในภาพยนตร์เรื่องนี้มากถึง 86 ชนิดด้วยกัน
นี่เป็นภาพยนตร์ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องได้ดู Disney’s The Lion King เดอะ ไลอ้อน คิง วันนี้ในโรงภาพยนตร์ ซื้อตั๋ว!
In 100 days, the king arrives. Watch the brand new trailer for #TheLionKing now.